5 ข้อควรระวังหากตัดสินใจไม่ทำประกันภัยรถยนต์

 5 ข้อควรระวังหากตัดสินใจไม่ทำประกันภัยรถยนต์

ปัจจุบันมีเจ้าของรถจำนวนไม่น้อยมองว่าการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 3,...) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น เพราะหากไม่มีการเคลมเกิดขึ้น จะถือเป็นการจ่ายเบี้ยประกันทิ้งไปในแต่ละปี แต่รู้หรือไม่ว่าหากประสบอุบัติเหตุโดยที่รถไม่มีประกัน จะมีผลเสียที่ตามมาอย่างไรบ้าง?

     แม้ว่าตามกฎหมายรถยนต์ทุกคันจะต้องจัดทำประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. อยู่แล้วนั้น แต่ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. จะครอบคลุมเฉพาะตัวบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถและทรัพย์สินของตนเองและคู่กรณีแต่อย่างใด เจ้าของรถส่วนใหญ่จึงเลือกทำประกันภัยภาคสมัครใจเพื่อเพิ่มความคุ้มครองนอกเหนือไปจาก พ.ร.บ. เพียงอย่างเดียว เว็บซื้อหวยออนไลน จ่ายจริง

     ข้อควรระวังหากตัดสินใจไม่ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ มีอะไรบ้าง?

1.ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเองทั้งหมด

     กรณีประสบอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิด ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บ การเสียชีวิต และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของตนเองและคู่กรณี ซึ่งหลายครั้งที่มูลค่าความเสียหายอาจสูงกว่ามูลค่าตัวรถที่ประสบเหตุด้วยซ้ำไป

2.ต้องเคลียร์กับคู่กรณีด้วยตนเองทั้งหมด

     โดยปกติแล้วหากรถมีประกัน ไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด บริษัทประกันจะเป็นฝ่ายประสานงานกับคู่กรณีและดำเนินการต่างๆ ที่จำเป็นให้แทบทั้งหมด แต่หากไม่มีประกันคุ้มครองแล้วล่ะก็ แม้ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูก แต่ก็ต้องเดินเรื่องประสานงานกับบริษัทประกันของคู่กรณีด้วยตนเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน และอาจถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลได้

accident01

3.ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มีจำกัด

     แม้ว่ารถจะมีประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองอยู่แล้ว แต่วงเงินคุ้มครองค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และครอบคลุมเฉพาะบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น เช่น กรณีบาดเจ็บจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน ส่วนเกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (ค่าสินไหมทดแทน) สามารถเรียกร้องได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน

     ส่วนกรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เบื้องต้นเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน และได้รับค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาทต่อหนึ่งคน

4.ไฟไหม้-น้ำท่วม-รถหาย ไม่มีความคุ้มครอง

     นอกเหนือจากความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแล้ว ประกันภัยภาคสมัครใจยังมีความคุ้มครองที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติและการโจรกรรมอีกด้วย ซึ่งหากไม่ได้ทำประกันภัยไว้ เจ้าของรถจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้รถ,​ น้ำท่วม หรือแม้กระทั่งรถหาย ก็จะไม่ได้รับการชดเชยใดๆ จึงจำเป็นต้องใช้รถใช้ถนนอย่างรอบคอบและระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

5.ไม่สามารถจัดไฟแนนซ์ได้

     กรณีเป็นรถใหม่ป้ายแดงมักจะแถมประกันภัยชั้น 1 มาให้เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่กรณีเป็นรถมือสองที่ต้องการจัดไฟแนนซ์ ก็มักจะถูกบังคับให้ทำประกันภัยชั้น 1 ในปีแรก เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีประสบอุบัติเหตุหรือการสูญหายของตัวรถ ส่วนในปีถัดไปก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของรถเองว่าจะจัดไฟแนนซ์ต่อหรือไม่ หรือเปลี่ยนเป็นประกันชั้นอื่นแทน

     เห็นไหมครับว่าหากรถไม่มีประกันแล้วประสบอุบัติเหตุขึ้นมา ก็จะกลายเป็นปัญหาที่สร้างความปวดหัวยุ่งยากให้กับผู้ขับขี่ได้อย่างไม่คาดคิดเลยทีเดียว ทางที่ดีอย่างน้อยควรจัดทำประกันภัยชั้น 3 ที่มีราคาเพียงไม่กี่พันบาท แลกกับการคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่คู่กรณี เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความปวดหัวไปได้อย่างมากแล้วล่ะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาอย่างไว! All-new Ford Ranger และ Everest 2023 ใหม่ จ่อเผยโฉมในไทย 21 มี.ค.นี้

มันใช่หรือ? วิ่ง M-FLOW แต่ไม่เป็นสมาชิก ระบบไม่แจ้งเตือน สุดท้ายเจอปรับ 10 เท่า!

รู้หรือไม่? หากไฟเตือนน้ำมันโชว์จะขับต่อไปได้อีกกี่กิโลเมตร